วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การออกแบบ เป็น การสร้างสรรค์ทางศิลปะอย่างหนึ่ง ของมนุษย์ชาติ ซึ่งมีประวัติ ความเป็นมาและวิวัฒนาการที่ควบคู่ กันมากับมนุษย์โดยตลอด เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของศิลปะที่มนุษย์ ทุกคนจะต้องรู้จักและสัมผัสกับผลงานการออกแบบอยู่ตลอดเวลา ในชีวิตและประสบการณ์ประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดก็ตาม เพราะ การออกแบบนั้นก็คือความเพียรพยายามของมนุษย์ในอันที่จะนำเอาทรัพยากรต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาดัดแปลงขึ้นเป็นสิ่งที่จะเอื้ออำนวย ความสะดวกสบาย และเกิดคุณประโยชน์เกิดคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์สนองตัญหาความอยาก (Needs) ของมนุษย์ในที่สุดนั่นเอง
การจัดองค์ประกอบ (Composition)
1. ความสมดุล (Balance) คือ ความเท่ากันหรือเท่าเทียมกันทั้งสองข้าง แบ่งออกเป็น
สมดุลแบบทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน (Symmetrical balance) ทั้งซ้ายขวาเหมือนกัน การสมดุลแบบนี้จะทำให้ดูมั่นคงหนักแน่น ยุติธรรม เช่น งานราชการ ใบวุฒิบัตร ประกาศณียบัตร การถ่ายรูปติดบัตรเป็นต้น
สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical balance) ด้านซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากันด้วยน้ำหนักทางสายตา เช่น สมดุลด้วยน้ำหนักและขนาดของรูปทรง ด้วยจุดสนใจ ด้วยจำนวนด้วยความแตกต่างของรายละเอียด ด้วยค่าความเข้ม-จางของสี เป็นต้น
2. จุดสนใจหรือจุดเด่น (Emphasis)  คือ  จุดสำคัญหรือส่วนประธานในภาพ จุดรองลงมาหรือส่วน
รองประธาน ส่วนประกอบหรือพวกรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ
หลักและวิธีในการใช้การเน้น
- เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast
- เน้นด้วยการประดับ
- เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น
- เน้นด้วยการใช้สี
- เน้นด้วยขนาด
- เน้นด้วยการทำจุดรวมสายตา
3. เอกภาพ (Unity)  คือ  ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยที่องค์ประกอบภายในต้องกลมกลืนกันมี 2 แบบคือ
เอกภาพแบบเคลื่อนไหว (Dynamic unity)ทำให้เกิดลักษณะเคลื่อนไหวสนุกสนาน
เอกภาพแบบหยุดนิ่ง (Static unity) โดยใช้รูปทรงหรือรูปร่างแบบธรรมชาติทำให้ทำให้เกิดลักษณะหนักแน่น
เอกภาพประกอบด้วย
ความกลมกลืน (Harmony)  คือ การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันหรือคล้าย ๆ กันมาจัดภาพทำให้เกิดความนุ่มนวลกลมกลืนกันมี 3 แบบ คือ
1. กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน
2. กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า & โลโก้
3. กลมกลืนในองค์ประกอบ ได้แก่
- กลมกลืนด้วยเส้น-ทิศทาง
- กลมกลืนด้วยรูปทรง-รูปร่าง
- กลมกลืนด้วยวัสดุ -พื้นผิว
- กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทรสีที่ใกล้กัน
- กลมกลืนด้วยขนาด-ส่วน
- กลมกลืนด้วยน้ำหนัก
4.  ขนาดและส่วน ”
ขนาด (Dimensions) หมายถึง ลักษณะของวัตถุ ที่จะเขียน คือ มีลักษณะใหญ่เล็ก กว้างยาว ตามที่เรารับรู้ได้ ตามหลักการมองเห็นภาพด้วยสายตา ของเราคือ วัตถุชนิดเดียวกัน ขนาดเท่ากัน อยู่ใกล้กว่าจะมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุที่อยู่ไกล ออกไป และยิ่งอยู่ไกลมากเท่าไร ก็ยิ่งเล็กลงไปจนมองไม่เห็น
ส่วน (Proportion) หมายถึง การจัดภาพ หรือ การเขียนภาพให้ได้ขนาดและที่สว่างจนเกิดความสมส่วน ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดความสัมพันธ์กันด้วยดี ในการปฏิบัติงานศิลปะ ส่วนมีความสำคัญมาก จะต้องมีความสัมพันธ์กับขนาดเป็นอย่างดีด้วย ขนาดและส่วนมีความสัมพันธ์กับรูปร่าง – รูปทรง เมื่อเรานำรูปร่าง รูปทรง มาจัดองค์ประกอบเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดความรู้สึกดังนี้
ขนาดใกล้เคียงกัน ให้ความรู้สึกกลมกลืน•
ขนาดต่างกัน ให้ความรู้สึกขัดแย้ง•



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น