วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การออกแบบ เป็น การสร้างสรรค์ทางศิลปะอย่างหนึ่ง ของมนุษย์ชาติ ซึ่งมีประวัติ ความเป็นมาและวิวัฒนาการที่ควบคู่ กันมากับมนุษย์โดยตลอด เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของศิลปะที่มนุษย์ ทุกคนจะต้องรู้จักและสัมผัสกับผลงานการออกแบบอยู่ตลอดเวลา ในชีวิตและประสบการณ์ประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดก็ตาม เพราะ การออกแบบนั้นก็คือความเพียรพยายามของมนุษย์ในอันที่จะนำเอาทรัพยากรต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาดัดแปลงขึ้นเป็นสิ่งที่จะเอื้ออำนวย ความสะดวกสบาย และเกิดคุณประโยชน์เกิดคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์สนองตัญหาความอยาก (Needs) ของมนุษย์ในที่สุดนั่นเอง
การจัดองค์ประกอบ (Composition)
1. ความสมดุล (Balance) คือ ความเท่ากันหรือเท่าเทียมกันทั้งสองข้าง แบ่งออกเป็น
สมดุลแบบทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน (Symmetrical balance) ทั้งซ้ายขวาเหมือนกัน การสมดุลแบบนี้จะทำให้ดูมั่นคงหนักแน่น ยุติธรรม เช่น งานราชการ ใบวุฒิบัตร ประกาศณียบัตร การถ่ายรูปติดบัตรเป็นต้น
สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical balance) ด้านซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากันด้วยน้ำหนักทางสายตา เช่น สมดุลด้วยน้ำหนักและขนาดของรูปทรง ด้วยจุดสนใจ ด้วยจำนวนด้วยความแตกต่างของรายละเอียด ด้วยค่าความเข้ม-จางของสี เป็นต้น
2. จุดสนใจหรือจุดเด่น (Emphasis)  คือ  จุดสำคัญหรือส่วนประธานในภาพ จุดรองลงมาหรือส่วน
รองประธาน ส่วนประกอบหรือพวกรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ
หลักและวิธีในการใช้การเน้น
- เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast
- เน้นด้วยการประดับ
- เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น
- เน้นด้วยการใช้สี
- เน้นด้วยขนาด
- เน้นด้วยการทำจุดรวมสายตา
3. เอกภาพ (Unity)  คือ  ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยที่องค์ประกอบภายในต้องกลมกลืนกันมี 2 แบบคือ
เอกภาพแบบเคลื่อนไหว (Dynamic unity)ทำให้เกิดลักษณะเคลื่อนไหวสนุกสนาน
เอกภาพแบบหยุดนิ่ง (Static unity) โดยใช้รูปทรงหรือรูปร่างแบบธรรมชาติทำให้ทำให้เกิดลักษณะหนักแน่น
เอกภาพประกอบด้วย
ความกลมกลืน (Harmony)  คือ การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันหรือคล้าย ๆ กันมาจัดภาพทำให้เกิดความนุ่มนวลกลมกลืนกันมี 3 แบบ คือ
1. กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน
2. กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า & โลโก้
3. กลมกลืนในองค์ประกอบ ได้แก่
- กลมกลืนด้วยเส้น-ทิศทาง
- กลมกลืนด้วยรูปทรง-รูปร่าง
- กลมกลืนด้วยวัสดุ -พื้นผิว
- กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทรสีที่ใกล้กัน
- กลมกลืนด้วยขนาด-ส่วน
- กลมกลืนด้วยน้ำหนัก
4.  ขนาดและส่วน ”
ขนาด (Dimensions) หมายถึง ลักษณะของวัตถุ ที่จะเขียน คือ มีลักษณะใหญ่เล็ก กว้างยาว ตามที่เรารับรู้ได้ ตามหลักการมองเห็นภาพด้วยสายตา ของเราคือ วัตถุชนิดเดียวกัน ขนาดเท่ากัน อยู่ใกล้กว่าจะมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุที่อยู่ไกล ออกไป และยิ่งอยู่ไกลมากเท่าไร ก็ยิ่งเล็กลงไปจนมองไม่เห็น
ส่วน (Proportion) หมายถึง การจัดภาพ หรือ การเขียนภาพให้ได้ขนาดและที่สว่างจนเกิดความสมส่วน ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดความสัมพันธ์กันด้วยดี ในการปฏิบัติงานศิลปะ ส่วนมีความสำคัญมาก จะต้องมีความสัมพันธ์กับขนาดเป็นอย่างดีด้วย ขนาดและส่วนมีความสัมพันธ์กับรูปร่าง – รูปทรง เมื่อเรานำรูปร่าง รูปทรง มาจัดองค์ประกอบเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดความรู้สึกดังนี้
ขนาดใกล้เคียงกัน ให้ความรู้สึกกลมกลืน•
ขนาดต่างกัน ให้ความรู้สึกขัดแย้ง•



วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ทัศนศิลป์1234

ทัศนศิลป์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการความคิดสร้างสรรค์มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอนการสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นต่อเนื่อง
  • ทัศนศิลป์คือการรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเครื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมุติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
  • ทัศนศิลป์เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศน์.. ศิลป์ นั้น
  • แนวคิดทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ได้แก่รูปภาพวิวทิวทัศน์ทั่วไปเป็นสำคัญอันดับต้นๆ รูปภาพคนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้ากล่าวว่าทัศนศิลป์เป็นความงามทางศิลปะที่ได้จากการมอง หรือ ทัศนา นั่นเอง


จิตรกรรมหมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบด้วยวิธีการลาก การระบายสีลงบนพื้นผิววัสดุที่มีความราบเรียบ เช่นกระดาษ ผ้าใบ แผ่นไม้ เป็นต้น เพื่อให้เกิดเรื่องราวและความงามตามความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการของผู้วาด
 ประติมากรรม ( sculpture) ประติมากรรม หมายถึง การสร้างงานทัศนศิลป์ที่เกิดจากกรปั้น การแกะสลัก การหล่อ การเชื่อม เป็นต้น โดยมีลักษณะ 3 มิติ คือ มีความกว้าง ความยาว และความหนา เช่นรูปคน รูปสัตว์ รูปสิ่งของ เป็นต้น ประติมากรรมจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
  • แบบนูนต่ำ ( bas-relief) เป็นการปั้นหรือสลักโดยให้เกิดภาพที่นูนขึ้นจากพื้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น รูปบนเหรียญต่างๆ (เหรียญบาท เหรียญพระห้อยคัว) เป็นต้น แบบนูนสูง ( high- relief) เป็นการปั้นหรือสลักให้รูปที่ต้องการนูนขึ้นจากพื้นหลังมากกว่าครึ่งเป็นรูปที่สามารถแสดงความตื้นลึกตามความเป็นจริง เช่น ประติมากรรมที่ฐานอนุสาวรีย์ เป็นต้น
  • แบบลอยตัว ( round- relief) เป็นการปั้นหรือสลักที่สามารถมองเห็นและสัมผัส ชื่นชมความงามของผลงานได้ทุกด้านหรือรอบด้าน เช่นพระพุทธรูป เป็นต้น สถาปัตยกรรม ( Archiecture)
สถาปัตยกรรม หมายถึง ศิลปะและวิทยาการแห่งการก่อสร้างที่นำมาทำเพื่อสนองวามต้องการในด้านวัตถุและจิตใจ มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างอย่างงดงาม
  • แบบเปิด หมายถึง สถาปัตยกรรมที่มนุษย์สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่น อาคารเรียน ที่พักอาศัย เป็นต้น
  • แบบปิด หมายถึง สถาปัตยกรรมที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่นสถูป เจดีย์

ภาพพิมพ์ภาพพิมพ์ (Printing)ภาพพิมพ์ หมายถึง ผลงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการพิมพ์ ด้วยการกดแม่พิมพ์ให้ติดเป็นภาพบนกระดาษ เช่นแม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ เป็นต้นภาพพิมพ์สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
 พิมพ์ผิวนูน ( Relief process) เป็นกระบวนการพิมพ์ให้เกิดส่วนลึกและนูนหรือมีความแตกต่างทางผิวพื้นของแม่พิมพ์ด้วยการแกะ หล่อ กัดด้วยกรด หรือวิธีอื่นๆ เช่น ภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพพิมพ์โลหะ เป็นต้น
  • พิมพ์ร่องลึก ( intaglio process) เป็นการพิมพ์ที่ตรงกันข้ามกับกระบวนการพิมพ์ผิวนูน ได้แก่ เอทชิง เป็นต้น
  • พิมพ์พื้นราบ (planographic process) กลวิธีนี้รู้จักในนามของภาพพิมพ์หิน
 พิมพ์ฉากพิมพ์ (serigraphic process) การพิมพ์แบบนี้ที่รู้จักกันดีคือการพิมพ์ตัดกระดาษ เป็นต้น